ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ศูนย์ข่าวชาวบ้าน บ้านแห่ ตำบลชุมแพ อำชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สักขาลายของชาวอีสานสมัยโบราณ

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ 2557
บุคคลสำคัญ : ปู่พันธ์  รถหามแห  อายุ : 106 ปี
เกร็ดความรู้ : เนื่องจากปัจจุบันนี้มีผู้คนนิยมสักรูปต่าง ๆ บนตัวหลายแบบ ซึ่งในสมัยโบราณผู้ชายชาวอีสานแทบทุกคนจะต้องสัก สาเหตุของการสักขาลายนั้น มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง คือ

1. การสักเพื่อทดสอบความอนทนของตนเอง  เนื่องจากถ้าผู้ใดสามารถสักขาลายได้ครบทั้งสองข้างแล้วจะได้ขื่อว่าเป็นผู้มีความอดทนเป็นเลิศทั้งนี้เนื่องจากเป็นผู้มีความอดทนอดกลั้นต่อความเจ็บปวดได้เป็นอย่างยิ่ง และสามารถที่จะเป็นผู้นำของครอบครัวได้ในอนาคต ส่วนถ้าผู้ชายคนได้สักได้เพียงข้างเดียวหรือไม่สักเลยนั้น ก็จะถือว่าเป็นผู้ที่มีจิตในไม่เข้มแข็ง ดังนั้นผู้หญิงก็มักจะคบค้าสมาคมหรือรับพิจารณาเป็นคู่ครองได้

2.  การสักเพื่อความสวยงาม ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็นรสนิยมที่สูงมากเนื่องจากผู้ชายต้องนุ่งผ้าถกเขมรอย่างขอมโบราณ ทำให้มีโอกาสที่จะอวดลวดลายที่สักบนขาได้เป็นอย่างดี และผู้ใดที่สักขาลายแล้วก็จะทำให้เป็นที่ยอมรับและเข้าสังคมในหมู่ผู้ชายด้วยกันได้ ( ในการสักลายนั้นเมื่อนุ่งผ้าถกเขมรแล้วลายที่สักจะดูเหมือนสนับเพลาของเจ้านายผู้ใหญ่

ในการสักลายนั้นจะต้องสักขาลายตั้งแม่บริเวณใต้หัวเข่าขึ้นไปถึงใต้บั้นเอว แต่ไม่นิยมสักขึ้นไปจนถึงพุง ดังนั้นชาวไทยอีสานจึงถูกเรียกว่าลาวพุงขาว ส่วนบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายจะมีสักบ้างเล็กน้อยเช่นที่แขน ที่แก้มเป็นต้น

อุปกรณ์การสักจะประกอบด้วย เหล็กสัก ซึ่งเป็นเหล็กแหลมปลายสองแฉกคล้ายปลายปากกาคอแร้ง ทำด้วยทองแดง มีด้ามยาวประมาณ 60 - 75 ซม. ปลายด้ามมีโลหะทองแดงหรือตะกั่วหุ้มเพื่อให้เกิดแรงกดที่ปลายเหล็กแหลมมาก ๆ เวลาชางสักจะได้ไม่ต้องออกแรงมากเมื่อเวลาสัก และใช้หมีกจีนเป็นน้ำหมีกสัก

ก่อนที่จะจักจะต้องมีการยกครู ซึ่งภาษาอีสานเรียกว่า ตั้งคาย เป็นเงินค่ายกครู หรือค่าแรงของคนสักนั่นเอง เงินค่ายกครูนี้เรียกว่าเงินใส่คาย ขาละ 1 ยาท ถ้าสักสองขาก็เสียค่ายกครู 2 บาท ผู้ที่จะทำการสักขาจะต้องนำดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอมมา 5 คู่ รูปเทียอย่างละ 5 คู่ หรือเรียกว่าขัน 5 พร้อมกับเงิน 2 บาท ใส่มาในขันที่สานด้วยไม้ไฟ่ให้มีรูปร่างเหมือนพานทั่วไป เรียกว่า ขันกะหย่อง  ช่างสักขาลายจะกล่าวคำบูชาครูผู้ให้วิชานี้มา   การสักขาลายจะไม่กระทำกันในวันเดือนดับ คือ วันแรม 14 ค่ำหรือ 15 ค่ำ และวันที่มีคนตายในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มักจะนิยมสักในว้นอังคารกับวันพฤหัสบดี  เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มียาชา ดังนั้นผู้ที่จะได้รับการสักขาลายจะต้องกินฝิ่นให้เมาเพื่อจะได้บรรเทาความเจ็บปวด

กรรมวิธีการสักนั้นจะทำแบบง่าย ๆ คือ ให้ผู้ที่จะสักขาลายนอนลง โดยมีลูกมือของช่างสักลายจะจัดท่าให้  ช่างสักจะใช้ปลายไม้แแหลม ๆ จุ่มน้ำหมีกร่างลวดลายลงบนขาให้เรียบร้อยก่อน แล้วช่างสักก็จะเริ่มสักโดยการใช้เหล็กสักจุ่มลงในน้ำหมีกนึนซึ่งได้ฝนไว้เรียบร้อยแล้ว และใช้ปลายเท้าขวากดผิวหนังของอวัยวะส่วนที่จะสักให้ตึง แล้วลงมือสักเมื่อปลายเหล็กหมดน้ำหมึก ก็จะจุ่มหมีกในกระบอกน้ำหมึกใหม่มาสักต่อจนเสร็จโดยจะเริ่มสักบริเวณใต้หัวเข่าก่อนและสักขึ้นไปจนถึงปลายบั้นเอว บริเวณที่เจ็บปวดมากที่สุดได้แก่บริเวณต้นขาและหน้าท้อง เมื่อช่างสักสักขึ้นไปจนถึงต้นขา ลูกมือของช่างสักก็จะใช้กะลามะพร้าวมาครอบอวัยวะเพศไว้เพื่อกันอายและให้ช่างสักทำงานได้สะดวก ในการสักขาลายปกติจะสักได้วันละ หนึ่งขาเป็นอย่างมาก  ลวดลายที่สักมักจะเป็นลายสิงห์อยู่ในกรอบหลาย ๆตัวติดกัน ซึ่งตัวสิงห์และตัวลายลงสีทิึบ ส่วนลายตรงปลายหัวเข่าและปลายบั้นเอวจะเป็นลายกาบง่าย ๆ เมื่อสักลายเสร็จเรียบร้อยแล้วส่วนที่เป็นลายจะนูนขึ้นเนื่องจากผิวหนังบริเวณนั้นอักเสบ และจะยุบประมาณ 6 - 7 วันก็จะหายเป็นปกติ ในระยะนี้คนที่ร่างกายมีความต้านทานนัอยมักจะมีไข้ จะต้องพักผ่อจนร่างกายแข็งแรงขึ้น แล้วจึงนุ่งผ้าถกเขมรไปอวดสาว ๆ ได้







( เกร็ดความรู้เรื่องนี้ได้มาจาก หนังสืออีสานเมื่อวันวานของดร. ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น